วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สรุปบทที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

สรุปบทที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ข้อมูลหมายถึงข้อมูลดิบที่ถูกรวบรวมจากแหล่งต่างๆ   ทั้งภายในและภายนอกองค์กร  โดยข้อมูลดิบยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้ประโยชน์ หรือตรงตามความต้องการของผู้ใช้   ขณะที่สารสนเทศหมายถึง  ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลดิบที่ถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ  สารสนเทศเป็นข้อมูลที่มีความหมายตรงตามความต้องการของผู้ใช้  ช่วยในการตัดสินใจ  วางแผน  กำหนดเป้าหมาย  และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานได้อย่างดี ของผู้บริหาร   
 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  หมายถึง  ระบบที่จัดเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆทั้งภายในและภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์   เพื่อนำมาประมวลผลให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารในด้านต่างๆ    เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ   โดยที่ MISประกอบด้วย  3  ส่วนสำคัญดังนี้
1.              เครื่องมือในการสร้าง  เป็นส่วนประกอบหรือโครงสร้างพื้นฐานที่รวมกันเป็นสารสนเทศ  และช่วยให้ระบบสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.              วิธีการประมวลผลเป็นลำดับชั้นในการประมวลผลข้อมูล   เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการ
3.              การแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากสารสนเทศ   มักเป็นรูปแบบของรายงานต่างๆ ซึ่งสามารถเรียกมาแสดงได้อย่างรวดเร็ว
ปัจจุบันผู้จัดการตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง  และหัวหน้าพนักงานตั้งแต่ระดับปฏิบัติการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม  โดยมีระดับการใช้งานที่แตกต่างกันโดยมีบทบาทสำคัญดังต่อไปนี้
1.              การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างประสิทธิภาพ  ความพร้อมในการแข่งขันให้กับองค์กร
2.              เข้าใจความต้องการของระบบและสภาพแวดล้อมในยุคโลกาภิวัฒน์
3.              มีส่วนร่วมในการออกแบบและพัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศรวมขององค์การ
4.              บริหารตัดสินใจในการสรรหาและคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ  และการสื่อสารคมนาคม
5.              เข้าใจประเด็นสำคัญด้านจริยธรรมที่เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
หน่วยงานสารสนเทศอาจเป็นหน่วยงานอิสระหรือขึ้นตรงกับหน่วยงานหลัก   เช่นการเงิน  การตลาด  หรือการปฏิบัติการ การจัดองค์การภายในหน่วยงานสารสนเทศจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ  หน่วยวิเคราะห์และออกแบบระบบ  หน่วยเขียนชุดคำสั่ง  และหน่วยปฏิบัติการและบริการ  เป็นต้น


ตอบคำถามท้ายบทที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
1. นิยามความหมายและยกตัวอย่างของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ                ตอบ ระบบสารสนเทศเพื่อการจักการ หมายถึง ระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆทั้งภายในและภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อนำมาประมวลผลให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการทำงานและการตัดสินใจของผู้บริหารในด้านต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานขององค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดย MIS จะประกอบไปด้วยหน้าที่หลัก 2 ประการดังต่อไปนี้
         1. เครื่องมือในการสร้าง MIS เป็นส่วนประกอบ หรือโครงสร้างพื้นฐานที่รวมกันเข้าเป็นระบบสารสนเทศ และช่วยให้ระบบสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        2. วิธิการประมวลเป็นลำดับชั้นในการประมวลผลข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศมักเป็นรูปแบบรายงานต่างๆ ซื่งสามารถเรียกมาแสดงได้อย่างรวดเร็ว
2. ข้อมูลและสารสนเทศมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
                ตอบ ข้อมูล หมายถึง ข้อมูลดิบที่ถูกรวบรวมจากแหล่งต่างๆ ทั้งภายในภายนอกองค์การโดยข้อมูลดิบจะยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้ประโยชน์หรือตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ขณะที่สารสนเทศ หมายถึง ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลดิบที่ถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบโดยผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำไปประกอบการทำงาน โดยเฉพาะการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสทางธุรกิจ
3. สารสนเทศที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
                ตอบ       1. ถูกต้อง
                                2. สอดคล้องกับงาน
                                3. ทันเวลา
                                4. สามารถตรวจสอบได้
4. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจอย่างไร
                ตอบ      1. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์
                                  2. ช่วยผู้ใช้ในการกำหนดเป้าหมายและการวางแผนงาน
                                  3. ช่วยผู้ใช้ในการตรวจสอบผลการดำเนินงาน
                                  4. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น
                                  5. ช่วยลดค่าใช้จ่าย
            
5. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง
                ตอบ      1. ความสามารถในการจัดการข้อมูล
                                2. ความปลอดภัยของข้อมูล
                                3. ความยืดหยุ่น
                                4. ความพอใจของผู้ใช้
6. บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีกี่ระดับ อะไรบ้าง
                ตอบ มี 3 ระดับดังต่อไปนี้
                                1. หัวหน้างานระดับต้น
                                2. ผู้จัดการระดับกลาง
                                3. ผู้ปริหารระดับสูง
7. จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการใช้งานระบบสารสนเทศและระดับของผู้บริหารในองค์การ
                ตอบ MIS จะช่วยผู้บริหารในการเข้าถึงข้อมูล เพื่อนำมาประกอบการวางแผนตรวจสอบการการดำเนินงาน โดยระบบสารสนเทศช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาสาเหตุและทำการแก้ปัญหาถ้าเกิดสิ่งผิดปกติขึ้นในการดำเนินงาน กิจกรรมของระบบสารสนเทศที่กล่าวมาจะส่งผลให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมี่ประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในสภาวะทางธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงเช่นในปัจจุบัน นอกจากนี้ระบบสารสนเทศที่ดีควรมีความยืดหยุ่น เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนการทำงานให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา
8. ผู้บริหารสมควรมีบทบาทต่อการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การอย่างไร
                ตอบ       1. เข้าใจความต้องการของระบบและองค์การในสภาพแวดล้อมยุคโลกาภิวัตน์
                                2. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพในการดำเนินงานทั่วทั้งองค์การ
                                3. มีส่วนร่วมในการออกแบบและการพัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศรวมขององค์การ
                                4. บริหารและตัดสินใจในการสรรหาและคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารโทรคมนาคม
                                5. จัดการและควบคุมผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อผู้เกี่ยวข้อง เช่น บุคลากรลูกค้า ผู้ขายวัตถุดิบ และต่อองค์การ
                                6. ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงานแก่ผู้ใช้อื่น

9. โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ส่วน อะไรบ้าง
                ตอบ 3 ส่วนดังต่อไปนี้
                1. หน่วยวิเคราะห์และออกแบบระบบ
                2. หน่วยเขียนชุดคำสั่ง
                3. หน่วยปฎิบัติการและบริการ
10. บุคลากรของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ 7 ประเภท ดังนี้
 1.  หัวหน้าพนักงานสารสนเทศ
                        2.  นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
                        3.  ผู้เขียนชุดคำสั่ง
 4.  ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์
 5.  ผู้จัดตารางเวลา
 6.  พนักงานจัดเก็บและรักษา
 7. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล
11. เพราะเหตุใดผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับจริยธรรมและจรรยาบรรณ
ตอบ เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเราเรียกว่า IT ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อีกทั้ง IT มีอิทธิพลอย่างมากในเรื่องการกระจายอำนาจ ทรัพย์สิน สิทธ์ และความรับผิดชอบ ดังนั้นจริยธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญของผู้ที่ทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่จะต้องตระหนักและให้ความสำคัญ
12. จงอธิบายตัวอย่างผลกระทบทางบวกและทางลบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางกลายเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศหรือยุคข้อมูลข่าวสาร และก่อให้เกิดประโยชน์บุคคล องค์การ ในการดำเนินธุรกิจกิจการต่างๆให้มีประสิทธิภาพขึ้นก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ซึ่งเมื่อมีด้านดีแล้วก็ย่อมมีด้านที่เสีย อาจก่อให้เกิดปัญหาครอบครัวแตกแยก การไม่มีเวลาให้กัน ปัญหาเด็กขาดความอบอุ่นเป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น