วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สรุปบทที่ 3ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

สรุปบทที่ 3ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
                เราสามารถกล่าวได้ว่าหน้าที่หลักของ MIS คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากทั้งภายใน และภายนอกองค์การมาไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อทำการประมวลผลและจัดรูปแบบข้อมูลให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสม และจัดพิมพ์เป็นรายงานส่งต่อให้ผู้ใช้ เพื่อช่วยให้การตัดสินใจและบริหารงานของเขาให้มีประสิทธิภาพ ถ้าพิจารณาในรายละเอียดหรือตามสภาพความเป็นจริงขององค์การ การที่ธุรกิจจะได้มาซึ่งสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร จะต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติของแต่ละส่วนย่อย ๆ ในระบบแตกกระจายออกไป เพื่อรับผิดชอบการทำงานเฉพาะในแต่ละหน้าที่ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้ ซึ่งเราสามารถกล่าวว่า กลุ่มของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS Subsystems) โดยที่เราสามารถแบ่งระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการออกตามหน้าที่งานในองค์การได้เป็น 4 ระบบ ต่อไปนี้
                1. ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ (Transaction Processing System) หรือที่เรียกว่า TPS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองค์การ โดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบ โดยที่ TPS จะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานในแต่ละวันขององค์การให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยและเป็นระบบ โดยเฉพาะปัจจุบันที่การดำเนินงานในแต่ละวันมักจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลเป็นจำนวนมาก เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างสะดวก รอดเร็ว และสามารถปฏิบัติงานได้โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ TPS ยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียกสารสนเทศมาอ้างอิงอย่างสะดวกและถูกต้องในอนาคต
                 2. ระบบจัดทำรายงานสำหรับการจัดการ (Management Reporting System) หรือที่เรียกว่า MRS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อรวบรวม ประมวลผล จัดระบบและจัดทำรายงาน หรือเอกสารสำหรับช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร โดยที่ MRS จะจัดทำรายงานหรือเอกสาร และส่งต่อไปยังฝ่ายจัดการตามระยะที่กำหนด หรือตามความต้องการของผู้บริหาร เนื่องจากรายงานที่ถูกจัดทำอย่างเป็นระบบจะช่วยให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปแล้วการทำงานของระบบจัดออกรายงานสำหนับการจัดการจะถูกใช้สำหรับการวางแผน การตรวจสอบ และการควบคุมการจัดการ
                 3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Supporting System) หรือที่เรียกว่า DSS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่จัดหารหรือจัดเตรียมข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริหาร เพื่อจะช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น ปกติปัญหาของผู้บริหารจะมีลักษณะที่เป็นกึ่งโครงสร้าง (Semi-structure) และไม่มีโครงสร้าง (Nonstructure) ซึ่งยากต่อการวางแนวทางรองรับ หรือแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประการสำคัญ DSS จะไม่ทำการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร แต่จะจัดหาและประมวลสารสนเทศ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นในการตัดสินใจกับผู้บริหาร ปัจจุบัน DSS ได้รับการพัฒนาและนำไปใช้ในองค์การ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจจากบุคคลจากหล่ายฝ่ายและเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้บริหาร ซึ่งเราจะนำเสนอรายละเอียดในบทต่อไป
                 4. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System) หรือที่เรียกว่า OIS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพโดย OIS จะประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงานที่ถูกออกแบบให้ปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานในสำนักงานเกิดผลสูงสุด หรือเราสามารถกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ระบบสารสนเทศสำนักงานมีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานภายในองค์การเดียวกัน และระหว่างองค์การ รวมทั้งการติดต่อกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ
        ความต้องการใช้งานสารสนเทศที่หลากหลายในองค์การ ทำให้ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการแตะละประเภทจะมีวัตถุประสงค์ ส่วนประกอบ และการใช้งานที่แตกต่างกัน นอกจากนี้แต่ละระบบยังทวีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเป็นความจำเป็นที่ผู้ศึกษาด้านบริหาระธุรกิจและการจัดการระบบสารสนเทศจะต้องทำความเข้าใจในคุณสมบัติการทำงาน และส่วนประกอบของระบบย่อย เพื่อให้สามารถนำความรู้ และความเข้าใจไปใช้งานได้จริง ประการสำคัญคือสามารถบูรณาการระบบย่อยภายในองค์การให้สอดคล้องกันและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ


ตอบคำถามท้ายบทที่3 ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
1. จงตอบคำถามข้อย่อยต่อไปนี้
     1.1 อธิบายความหมายของระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ (TPS)
          
ตอบ ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองศ์การ โดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบ โดยที่
TPS จะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานในแต่ละวันขององศ์การเป็นไปอย่างเรียบร้อยและเป็นระบบ โดยเฉพาะปัจจุบันที่การดำเนินงานในแต่ละวันมักจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียกสารสนเทศมาอ้างอิงอย่างสะดวกและถูกต้องในอนาคต
     1.2 หน้าที่หลักของ TPS มีอะไรบ้าง
          
ตอบ
TPS มีหน้าที่หลัก 3 ประการดังต่อไปนี้    
                           1. การทำบัญชี
                           2. การออกเอกสาร
                           3. การทำรายงานควบคุม
    1.3 อธิบายส่วนประกอบของวงจรการทำงานของ TPS ว่าแตกต่างจากระบบจัดออกรายงานสำหรับการจัด MRS อย่างไร
           
ตอบ
  1. การป้อนข้อมูล
                     2. การประมวลผล
                     3. การปรับปรุงข้อมูล
                     4. การผลิตรายการ
                     5. การให้บริการ
2. จงตอบคำถามข้อย่อยต่อไปนี้
    2.1 อธิบายความหมายของระบบจัดทำรายงานเพื่อการจัดการ (MRS)
         
ตอบ
MRS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อรวบรวมประมวลผล จัดระบบ และจัดทำรายงานหรือเอกสาร สำหรับช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร โดยที่ MRS จะจัดทำรายงานหรือเอกสาร และส่งต่อไปยังฝ่ายจัดการตามระยะเวลาที่กำหนด หรือตามความต้องการของผู้บริหารเนื่องจากรายงานที่ถูกจัดทำอย่างเป็นระบบจะช่วยให้บริหารงานมีประสิทธิภาพ
   2.2 รายงานที่ออกโดยระบบ MRS มีกี่ประเภท และอะไรบ้าง จงอธิบายอย่างละเอียด
        
ตอบ
MRS แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้
                     1. รายงานที่ออกตามตาราง (Schedule Report) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนดแน่นอน เช่น ประจำวัน ประจำสัปดาห์ หรือประจะเดือน เป็นต้น
                     2. รายงานที่ออกในกรณีพิเศษ (Exception Report) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเมื่อมีสิ่งผิดปกติหรือปัญหาเฉพาะหน้าเกิดขึ้น และทำการตัดสินใจแก้ไขและควบคุมผลประโยชน์ขององศ์การ เช่น รายชื่อลูกค้าที่ค้างชำระ เป็นต้น
                     3. รายงานที่ออกตามความต้องการ (Demand Report) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นตามความต้องการของผู้บริหาร ซึ่งรายงานตามความต้องการจะแสดงข้อมูลเฉพาะเรื่องที่ผู้บริหารต้องการทราบ เพื่อให้ผู้บริหารเกิดความเข้าใจในปัญหาและสามารถตัดสินใจอย่างเหมาะสม
                     4. รายงานที่ออกเพื่อพยากรณ์ (Predictive Report) เป็นรายงานที่ใช้ข้อสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร การพยากรณ์จะอาศัยเทคนิกการวิเคราะห์ทางสถิติและคณิตศาสตร์ หรือที่เรียกว่า การวิจัยขั้นดำเนินงาน
   2.3 สิ่งที่ควรมีในรายงานที่ออกโดยระบบ MRS มีอะไรบ้าง
        

        ตอบ 1. การวางแผน
                  2. การตรวจตอบ
                  3. การควบคุมการจัดการ
   2.4 คุณสมบัติที่ดีของระบบ MRS มีอะไรบ้าง จงอธิบายอย่างละเอียด
        
ตอบ
1. ตรงประเด็น (Relevance) รายงานที่ออกควรที่จะบรรลุด้วยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการหรือเป็นประโยชน์ต่อเรื่องที่ผู้บริหารกำลังทำการตัดสินใจอยู่
                  2. ความถูกต้อง (Accuracy) รายงานที่ออกควาบรรลุด้วยสารสนเทศที่ถูกต้อง ไม่มีข้อผิดพลาด และเป็นที่เชื่อถือได้ของผู้บริหาร
                  3. ถูกเวลา (Timeliness) รายงานที่ออกควรจะบรรลุสารสนเทศที่ทันสมัยและทันเวลาเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจที่กำลังกระทำอยู่ในขณะนั้น
                  4. สามารถพิสูจน์ได้ (Verifiability) รายงานที่ออกควรบรรลุสารสนเทศที่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาว่า เป็นข้อมูลจากแหล่งใด และมีความน่าเชื่อถือเพียงใด
3. จงอธิบายความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DEE)
           
ตอบ ระบบสารสนเทศที่จัดหาหรือจัดเตรียมข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริหาร เพื่อจะช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น ปกติปัญหาของผู้บริหารจะมีลักษณะที่เป็นกึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้างซึ่งยากต่อการวางแนวทางรองรับหรือแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

4. จงตอบคำถามข้อย่อยต่อไปนี้
     4.1 อธิบายความหมายของระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS)
          
ตอบ ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพ โดย OIS จะประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงานที่ถูกออกแบบให้ปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานในสำนักงานเกิดผลสูงสุด
    4.2 อธิบายหน้าที่ของระบบจัดการเอกสารในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
          
ตอบ ระบบจัดการเอกสาร (
Document Management System) ถูกพัฒนาขึ้นให้มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการจัดทำ กระจาย และเก็บรักษาเอกสารต่างๆ ภายในองศ์การ โดยระบบจัดการเอกสารจะประกอบไปด้วยเครื่องมือสำคัญดังต่อไปนี้
                    - การประมวลคำ
                    - การผลิตเอกสารหลายชุด
                    - การออกแบบเอกสาร
                    - การประมงลรูปภาพ
                    - การเก็บรกษา
    4.3 อธิบายหน้าที่ของระบบควบคุมข่าวสารในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
          
ตอบ ระบบควบคุมและส่งผ่านข่าวสาร (
Message-Handling System) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อควบคุมการกระจายและการใช้งานข่าวสารในสำนักงาน โดยการจักการข้อมูลให้เป็นระบบ ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบในการส่งผ่านข่าวสารที่สำคัญดังต่อไปนี้
                    - โทรสาร
                    - ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
                    - ไปรษณีย์เสียง
    4.4 อธิบายหน้าที่ของระบบการประชุมทางไกลในระบบสารสนเทศในสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
          
ตอบ ระบบประชุมทางไกล (
Teleconferencing) เป็นระบบเชื่อมโยงบุคคลตั้งแต่ 2 คน ซื่งอยู่กันคนละที่ ให้สามารถประชุมหรือโต้ตอบกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปอยู่ในสถานที่เดียวกัน ระบบประมทางไกลแบ่งออกเป็น 5 ประเภทดัง่อไปนี้
                    - การประชุมทางไกลที่ใช้ทั้งภาพและเสียง
                    - การประชุมทางไกลใช้เฉพาะเสียง
                    - การประชุมโดยใช้คอมพิวเตอร์
                    - โทรทัศน์ภายใน
                    - การปฏิบัติงานผ่านระบบสื่อสารทางไกล
   4.5 อธิบายหน้าที่ของระบบสนับสนุนการทำงานสำนักงานในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
         
ตอบ ระสนับสนุนการดำเนินงานในสำนักงาน (
Office Support System) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้พนักงานในสำนักงานเดียวกันใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในสำนักงานให้เกิดประโยชน์ในการทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุน และช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยที่เราสามารถแบ่งระบบสนับสนุนการดำเนินงานในสำนักงานออกได้เป็นหลายระบบดังต่อไปนี้
                    - ชุดคำสั่งสำหรับกลุ่ม
                    - ระบบจัดระเบียบงาน
                    - คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ
                    - การนำเสนอประกอบภาพ
                    - กระดานข่าวสารในสำนักงาน

สรุปบทที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

สรุปบทที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ข้อมูลหมายถึงข้อมูลดิบที่ถูกรวบรวมจากแหล่งต่างๆ   ทั้งภายในและภายนอกองค์กร  โดยข้อมูลดิบยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้ประโยชน์ หรือตรงตามความต้องการของผู้ใช้   ขณะที่สารสนเทศหมายถึง  ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลดิบที่ถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ  สารสนเทศเป็นข้อมูลที่มีความหมายตรงตามความต้องการของผู้ใช้  ช่วยในการตัดสินใจ  วางแผน  กำหนดเป้าหมาย  และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานได้อย่างดี ของผู้บริหาร   
 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  หมายถึง  ระบบที่จัดเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆทั้งภายในและภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์   เพื่อนำมาประมวลผลให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารในด้านต่างๆ    เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ   โดยที่ MISประกอบด้วย  3  ส่วนสำคัญดังนี้
1.              เครื่องมือในการสร้าง  เป็นส่วนประกอบหรือโครงสร้างพื้นฐานที่รวมกันเป็นสารสนเทศ  และช่วยให้ระบบสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.              วิธีการประมวลผลเป็นลำดับชั้นในการประมวลผลข้อมูล   เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการ
3.              การแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากสารสนเทศ   มักเป็นรูปแบบของรายงานต่างๆ ซึ่งสามารถเรียกมาแสดงได้อย่างรวดเร็ว
ปัจจุบันผู้จัดการตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง  และหัวหน้าพนักงานตั้งแต่ระดับปฏิบัติการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม  โดยมีระดับการใช้งานที่แตกต่างกันโดยมีบทบาทสำคัญดังต่อไปนี้
1.              การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างประสิทธิภาพ  ความพร้อมในการแข่งขันให้กับองค์กร
2.              เข้าใจความต้องการของระบบและสภาพแวดล้อมในยุคโลกาภิวัฒน์
3.              มีส่วนร่วมในการออกแบบและพัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศรวมขององค์การ
4.              บริหารตัดสินใจในการสรรหาและคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ  และการสื่อสารคมนาคม
5.              เข้าใจประเด็นสำคัญด้านจริยธรรมที่เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
หน่วยงานสารสนเทศอาจเป็นหน่วยงานอิสระหรือขึ้นตรงกับหน่วยงานหลัก   เช่นการเงิน  การตลาด  หรือการปฏิบัติการ การจัดองค์การภายในหน่วยงานสารสนเทศจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ  หน่วยวิเคราะห์และออกแบบระบบ  หน่วยเขียนชุดคำสั่ง  และหน่วยปฏิบัติการและบริการ  เป็นต้น


ตอบคำถามท้ายบทที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
1. นิยามความหมายและยกตัวอย่างของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ                ตอบ ระบบสารสนเทศเพื่อการจักการ หมายถึง ระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆทั้งภายในและภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อนำมาประมวลผลให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการทำงานและการตัดสินใจของผู้บริหารในด้านต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานขององค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดย MIS จะประกอบไปด้วยหน้าที่หลัก 2 ประการดังต่อไปนี้
         1. เครื่องมือในการสร้าง MIS เป็นส่วนประกอบ หรือโครงสร้างพื้นฐานที่รวมกันเข้าเป็นระบบสารสนเทศ และช่วยให้ระบบสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        2. วิธิการประมวลเป็นลำดับชั้นในการประมวลผลข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศมักเป็นรูปแบบรายงานต่างๆ ซื่งสามารถเรียกมาแสดงได้อย่างรวดเร็ว
2. ข้อมูลและสารสนเทศมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
                ตอบ ข้อมูล หมายถึง ข้อมูลดิบที่ถูกรวบรวมจากแหล่งต่างๆ ทั้งภายในภายนอกองค์การโดยข้อมูลดิบจะยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้ประโยชน์หรือตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ขณะที่สารสนเทศ หมายถึง ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลดิบที่ถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบโดยผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำไปประกอบการทำงาน โดยเฉพาะการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสทางธุรกิจ
3. สารสนเทศที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
                ตอบ       1. ถูกต้อง
                                2. สอดคล้องกับงาน
                                3. ทันเวลา
                                4. สามารถตรวจสอบได้
4. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจอย่างไร
                ตอบ      1. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์
                                  2. ช่วยผู้ใช้ในการกำหนดเป้าหมายและการวางแผนงาน
                                  3. ช่วยผู้ใช้ในการตรวจสอบผลการดำเนินงาน
                                  4. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น
                                  5. ช่วยลดค่าใช้จ่าย
            
5. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง
                ตอบ      1. ความสามารถในการจัดการข้อมูล
                                2. ความปลอดภัยของข้อมูล
                                3. ความยืดหยุ่น
                                4. ความพอใจของผู้ใช้
6. บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีกี่ระดับ อะไรบ้าง
                ตอบ มี 3 ระดับดังต่อไปนี้
                                1. หัวหน้างานระดับต้น
                                2. ผู้จัดการระดับกลาง
                                3. ผู้ปริหารระดับสูง
7. จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการใช้งานระบบสารสนเทศและระดับของผู้บริหารในองค์การ
                ตอบ MIS จะช่วยผู้บริหารในการเข้าถึงข้อมูล เพื่อนำมาประกอบการวางแผนตรวจสอบการการดำเนินงาน โดยระบบสารสนเทศช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาสาเหตุและทำการแก้ปัญหาถ้าเกิดสิ่งผิดปกติขึ้นในการดำเนินงาน กิจกรรมของระบบสารสนเทศที่กล่าวมาจะส่งผลให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมี่ประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในสภาวะทางธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงเช่นในปัจจุบัน นอกจากนี้ระบบสารสนเทศที่ดีควรมีความยืดหยุ่น เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนการทำงานให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา
8. ผู้บริหารสมควรมีบทบาทต่อการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การอย่างไร
                ตอบ       1. เข้าใจความต้องการของระบบและองค์การในสภาพแวดล้อมยุคโลกาภิวัตน์
                                2. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพในการดำเนินงานทั่วทั้งองค์การ
                                3. มีส่วนร่วมในการออกแบบและการพัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศรวมขององค์การ
                                4. บริหารและตัดสินใจในการสรรหาและคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารโทรคมนาคม
                                5. จัดการและควบคุมผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อผู้เกี่ยวข้อง เช่น บุคลากรลูกค้า ผู้ขายวัตถุดิบ และต่อองค์การ
                                6. ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงานแก่ผู้ใช้อื่น

9. โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ส่วน อะไรบ้าง
                ตอบ 3 ส่วนดังต่อไปนี้
                1. หน่วยวิเคราะห์และออกแบบระบบ
                2. หน่วยเขียนชุดคำสั่ง
                3. หน่วยปฎิบัติการและบริการ
10. บุคลากรของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ 7 ประเภท ดังนี้
 1.  หัวหน้าพนักงานสารสนเทศ
                        2.  นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
                        3.  ผู้เขียนชุดคำสั่ง
 4.  ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์
 5.  ผู้จัดตารางเวลา
 6.  พนักงานจัดเก็บและรักษา
 7. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล
11. เพราะเหตุใดผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับจริยธรรมและจรรยาบรรณ
ตอบ เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเราเรียกว่า IT ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อีกทั้ง IT มีอิทธิพลอย่างมากในเรื่องการกระจายอำนาจ ทรัพย์สิน สิทธ์ และความรับผิดชอบ ดังนั้นจริยธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญของผู้ที่ทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่จะต้องตระหนักและให้ความสำคัญ
12. จงอธิบายตัวอย่างผลกระทบทางบวกและทางลบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางกลายเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศหรือยุคข้อมูลข่าวสาร และก่อให้เกิดประโยชน์บุคคล องค์การ ในการดำเนินธุรกิจกิจการต่างๆให้มีประสิทธิภาพขึ้นก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ซึ่งเมื่อมีด้านดีแล้วก็ย่อมมีด้านที่เสีย อาจก่อให้เกิดปัญหาครอบครัวแตกแยก การไม่มีเวลาให้กัน ปัญหาเด็กขาดความอบอุ่นเป็นต้น

สรุปบทที่ 1เทคโนโลยีสารสนเทศ

สรุปบทที่ 1เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่ประกอบขึ้นด้วยระบบจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ลัอุปกรณ์ปฏิบัติการต่างๆ  เทคโนโลยีสารสนเทศต้องทีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 องค์ประกอบคือ 1. ระบบประมวลผล 2. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม 3. การจัดการเทคโนโลยีและข้อมูลอย่างเป็นระบบ
คอมพิวเตอร์แบ่งส่วนประกอบที่สำคัญออกเป็น 4 ส่วน ไก้แก่  หน่วยรับช้อมูล หน่วยประมวลผลกลาง  หน่วยความจำ และหน่วยแสดงผล ความสามารถและประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ จำแนกได้ออกเป็น 4 ประเภท ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์  เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มินคอมพิวเตอร์ และมโครคอมพิวเตอร์
ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์  เป็นชุดคำสั่งที่ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารและสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยที่เราสามารถจำแนกชุดคำสั่ง   ออกเป็น2ประเภทคือ  ชุดคำสั่งสำหรับระบบ  และชุดคำสั่งประยุกต์  โดยชุดคำสั่งถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์  แบ่งออกเป็นภาษาเครื่องและภาษาใกล้เคียงภาษามนุษย์ โดยภาษาใกล้เคียงภาษามนุษย์แบ่งได้ 2 ระดับคือ  ภาษาระดับต่ำ  เช่น แอสแซมบลี  และภาษาระดับสูง  เช่น  ฟอร์แทรน  โคบอล  และปาสคาล  เป็นต้น
                เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้การสื่อสาร ส่งข่าว ข้อมูลในระบบทางไกลได้มีประสิทธิภาพ และสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ตอบคำถามท้ายบทที่ 1เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.จงอธิบายความหมายและส่วนประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ       เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เราสามารถกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการดังต่อไปนี้
             1) ระบบประมวลผล
             2) ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
             3) การจัดการข้อมูล
2. เหตุใดการจัดการข้อมูลจึงเป็นส่วนสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ       การเก็บรวบรวมข้อมูล  การจัดเก็บข้อมูลที่มอยู่ให้เป็นระบบ  เพื่อการเรียกใช้ข้อมูลอย่างรวดเร็วในเวลาที่ต้องการ  รวมไปถึงวิธีการต่างๆ ในการประมวลผล  การวิเคราะห์ผลที่ได้จากการประมวลผลและการแสดงผลข้อมูล
จะเกิดประสิทธิผลหรือมีประโยชน์ต่อองค์กรได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยสารสนเทศที่มีคุณภาพ
3. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) มีหน้าที่อะไรและเปรียบเป็นส่วนใดของอวัยวะมนุษย์
ตอบ        หน่วยประมวลผลกลาง หรือไมโครโพรเซสเซอร์ของไมโครคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่นำคำสั่งและข้อมูลที่เก็บไว้ใน หน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล เปรียบเทียบกับอวัยวะของมนุษย์ คือ สมอง
4. เราสามารถจำแนกคอมพิวเตอร์ออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้างๆ
                ตอบ 4 ประเภทดังต่อไปนี้
                 1) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์
                 2) เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
                 3) มินิคอมพิวเตอร์
                 4) ไมโครคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
5. เหตุใดจึงมีผู้กล่าวว่า  คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องจักรกลที่เปลี่ยนแปลงโลก และท่านเห็นด้วยกับความคิดนี้หรือไม่  เพราะเหตุใด
                ตอบ เห็นด้วยเพราะ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ทำให้มนุษย์โลกเรานั้นได้ใกล้ชิดกันมากขึ้นแม้ว่าจะอยู่กันคนละมุมโลกก็ตาม อีกทั้งได้นำไปใช้ประโยชน์ในการทำงานและยังมีประโยชน์หลายๆ ด้าน
6. ชุดคำสั่งและภาษาคอมพิวเตอร์ คืออะไร  และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
                ตอบ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือ ชุดคำสั่งที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสาร และ สั่งงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             ภาษาคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสะดวกราบรื่น โดยชุดคำสั่งสำหรับใช้งานและควบคุมระบบคอมพิวเตอร์จะถูกเขียนขึ้นจากภาษาคอมพิวเตอร์
7. ภาษายุคที่ 4 หรือ 4 GL เป็นอย่างไร และมีความแตกต่างจากภาษาคอมพิวเตอร์ในอดีตอย่างไร
                ตอบ ภาษาในยุคที่ 4 จะเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาให้ง่านต่อการเรียนรู้และการนำไปใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เขียนชุดคำสั่งและผู้ใช้ที่มีความจำกัดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
8. จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดของเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่เป็นประโยชน์ต่องานสารสนเทศขององค์กร
                ตอบ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ระบบสารสนเทศที่ดีต้องประยุกต์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และผู้ใช้ที่อยู่ห่างกัน